วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 2

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 2 เรื่อง "ถุงนั้นสำคัญฉไหน"
วิทยากรโดย คุณวิฑูรย์ วงค์ทิพย์ นักวิชาการสาธารณสุข และทีมงาน
เมื่อวันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม 2551 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ โรงละคร D102 อาคารเรียน วิทยาเขตแม่สา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


เนื่องจากการจัดสัมนาครั้งนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการจัดสัมมนาขึ้น งานทุกอย่างถึงจะมีข้อบกพร่อง
บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ หรือ การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ แต่การจัดสัมมนาครั้งนี้ก็ผ่านไปด้วยดี
ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา ในหัวข้อ ถุงนั้นสำคัญฉไหน คือ

ทราบสถิติของการเกิดโรคเอดส์ในปัจจุบัน
คือจังหวัดใดมีจำนวนประชากรที่ติดเอดส์มากที่สุด สำหรับในประเทศไทย จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่มีประชากร
ติดเชื้อเอดส์มากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับถุงยางอนามัย

ถุงยางอนมัยที่มีการผลิตจำหน่ายในโลกนี้มี 3 ชนิดตามวัสดุที่ใช้


1. ชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ (Skin condom)


2. ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ (rubber condom or latex condom)


3. ชนิดที่ทำจากPolyurethane (ถุงยางพลาสติก)


ขั้นตอนการใช้ถุงยางอนามัย

1. บรรจงฉีกซองอย่างระมัดระวัง แล้วหยิบออกจากซองอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ถุงยางอนามัยสัมผัสกับเล็บหรือของประดับที่มีคม
2. ถุงยางอนามัยบรรจุในซองในลักษณะม้วนเป็นรูปวงแหวน ให้รอยม้วนอยู่ด้านนอก คลี่ถุงยางออกมาสัก 1 - 2 เซนติเมตร
3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบกระเปาะ(ติ่งตรงปลาย)ไล่ลมออก น้ำมาครอบปลายอวัยวะเพศ (ถ้าหนังหุ้มยาว ต้องรูดขึ้นไปให้พ้นปลายหัว)
4. ใช้อีกมือรูดถุงยางขึ้นไปจนถึงโคน (อีกมือยังคงบีบปลายติ่งอยู่)
5. ถ้าใส่ถูกต้อง ตรงติ่งต้องแบนไม่มีลมอยู่ภายใน (ถ้าเป็นแบบปลายมา ต้องเหลือปลายถุงยางไว้สัก หนึ่งเซ็นติเมตร)ทั้งนี้เพื่อป้องกันถุงยางอนามัยแตก

6. ถ้าความหล่อลื่นไม่พอ ก็สามารถทาสารหล่อลื่นเพิ่มเติมได้ แต่ต้องหลังจากสวมใส่แล้ว และสารหล่อลื่นที่ใช้ ต้องเป็นสารที่มีส่วนผสมเป็นน้ำ หรือซิลิโคน เช่น ky - jelly อย่ามักง่าย ใช้วาสลินโดยเด็ดขาด เพราะวาสลินเป็นเจลที่มี petroleum เป็นส่วนประกอบ
7. หลังจากมังกรพ่นพิษ ห้ามรอดูผลงาน ห้ามแช่ ต้องรีบถอย ถอนสมอโดยเร็ว ก่อนที่นกเขาจะหลับ ไม่งั้นถุงยางจะหลุดค้างคาในถ้ำ
8. ตอนถอนสมอ มือต้องจับขอบปลายส่วนเปิดไว้ด้วย ไม่งั้นถุงยางอาจถูกหนีบออกแต่ตัว แต่เสื้อหลุดได้ และเมื่อออกมาแล้ว ต้องระมัดระวังมืออย่าไปโดนด้านนอก ของถุงยางที่มีสารคัดหลั่งของฝ่ายหญิงอยู่ อาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ (กรณีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา)
9. เมื่อถอดออกแล้ว จะทดสอบรอยรั่วได้โดยเอาไปรองน้ำจากก๊อกใส่ถุงยางที่ใช้แล้ว ถ้ารั่วก็จะเห็นได้


ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

1. เอดส์ ป้องกันมากกว่า 90%
2. ไวรัสตับอักเสบ บี ป้องกันมากกว่า 90%
3. หูดหงอนไก่ ไม่ได้ผล หรือป้องกันได้ 10-50%
4. หนองในเทียม ป้องกันได้ 50-90%
5. หนองในแท้ ป้องกันมากกว่า 90%
6. พยาธิในช่องคลอด ป้องกันมากกว่า 90%
7. ซิฟิลิส ป้องกันได้ 50-90%
8. โรคเริม ป้องกันได้ 10-50%
9. แผลริมอ่อน ป้องกันได้ 10-50%


การสัมมนาในครั้งนี้ทางทีมงานของท่านวิทยากรได้มีการให้ผู้ร่วมสัมมนาเล่นเกมส์ซึ่งได้รับความรู้เป็นอย่างมากด้วยเกี่ยวกับโรคติดต่อ
สำหรับในช่วงท้ายของการสัมมนาก็ได้มีการร่วมตอบคำถามและมอบของรางวัลแก่ผู้ตอบคำถามและได้มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรโดยประธานในพิธี ซึ่งงานสัมมนาในวันนี้บรรยากาศได้เป็นไปอย่างสนุกสนาน สุดท้ายก็ได้กล่าวปิดงานโดยประธานในพิธี




ไม่มีความคิดเห็น: