วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 5

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 5 เรื่อง เทคโนโลยีการบริหารจัดการงานโรงแรมยุคใหม่

วันจันทร์ ที่ 18 สิงหาคม 2551 เวลา 9:00 น - 12:00 น ณ อาคารเรียน D ห้อง D102

โดยวิทยากร อ.ทศพล บุญศิริ

คณะวิทยาการจัดการ (วิทยาเขตแม่สา) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

สำหรับการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้ความรู้เป็นอย่างมา การบรรยายถ่ายทอดได้สนุกสนาน ท่านวิทยากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหัวข้อในการสัมนาในครั้งนี้อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ
อีกด้วย

คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมและท่องเที่่ยว
ท่องเที่ยว เป็นภาพใหญ่ เช่น ธนาคาร

ระบบคอมพิวเตอร์
-ฮาร์ดแวร์ (Hardwere)

-ซอฟต์แวร์ (Softwere)

-บุคลากร (Peoplewere)

-ข้อมูล (Data)

-กระบวนการทำงาน (Process)

ระบบเครือข่าย
LAN (Local Area Network)

MAN (Metropblitan Area Network)

WAN (Wide Area Network)

Introduction
Hotal background
Product

1. ห้องในโรงแรมทั้งหมด

2. อาหารและเครื่องดื่ม

3. เหตุการณ์ต่างๆ งานเลื้ยงต่างๆ

- ประชุมนา นา ชาติ เรื่องๆ เดียวสมาคมทันตแพทย์

- งานจัดงานเลื้ยงด้านนอก

4.กิจกรรมงานว่าง

กระบวนการ
1.การจอง walk-in เข้าพักโดยไม่ได้จองล่วงหน้า

2.แขกที่เข้าพักอยู่

3.การจับจ่ายใช้ในการใช้บริการ



Reservation การจอง
1.จำนวนไม่มาก มีการกรอกข้อมูลไม่มาก

2.เข้าไปเป็นหมูคณะ



In-house guest
1.กระบวนการบันทึกข้อมูล (posting)

2.ใบเสร็จ (billing)
3.สถานะห้อง (update room status)
-ห้องว่าง (vacant)
-ห้องไม่ว่าง (occupied)
-ห้องชำรุด อุปกรณ์ภายในห้องเสียหาย (out of Order)
-งดให้บริการ (out of service)

ใบเสร็จ (Billing)
1. Master Bill บิลหลัก ห้องชาร์ท เซอร์วิทชาร์ท
2. Extar Bill บิลพิเศษ เช่น ค่าอาหารในมินิบาร์
3. Voucher / City ledger เอกสารแทนเงินสด

Computer in Hospitality
1.ระบบการบริหารงานสินทรัพย์ในโรงแรม PMS (Property Management System)
2.ระบบจองตั๋วเครื่องบิน GDS (Global Distribution System)
3.ระบบจองผ่านศูนย์กลาง CRS (Central Reservation System)
4.เครื่องที่ใช้ในโลตัล EPOS (Electronic Point Sale)
5.ระบบรายการใช้โทรศัพท์ Call Accounting
6.ระบบคีย์การ์ด Electronic Door Locking

สำหรับในช่วงท้ายของการสัมมนาก็ได้มีการร่วมตอบคำถามและมอบของรางวัลแก่ผู้ตอบคำถามและได้มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรโดยประธานในพิธี ซึ่งงานสัมมนาในวันนี้บรรยากาศได้เป็นไปอย่างสนุกสนาน สุดท้ายก็ได้กล่าวปิดงานโดยประธานในพิธี

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 4

การเข้าร่วมสัมนาหัวข้อ "ล้ำยุคไปกับระบบติดตามด้วยดาวเทียม GPS" (Global Positon System)
เมื่อวันจันทร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 13:00-15:00 น. โดยวิทยากรคือ คุณ สิทธิธรรม อู่รอด

ความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้

การเริ่มต้นของระบบจีพีเอส
ก่อนที่จะมีระบบจีพีเอส เรายังไม่เคยมีเครื่องมือที่นำมาใช้บอกตำเหน่งและทิศทางสมบูรณ์เลย สิ่งที่มนุษย์
เริ่มใช้ก็คือ เข็มทิศเท่านั้นที่ใช้บอกทิศทาง สังเกตจากดวงดาว เครื่องมือที่ทันสมัยในยุคอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมนุษย์ได้สร้างขึ้นสำหรับการเดินทางแบบใหม่ชื่อ LORAN ซึ่งใช้คลื่นวิทยุติดตั่งตามพื้นที่ ส่วนต่างๆ ต่อมา
ใช้ดาวเทียมเหมือนระบบ GPS ระบบที่เรียกว่า "TRANSIT SYSTEM"หรือ "SATNAV"ปัจจุบันยกเลิกการใช้แล้ว เนื่องจากมีข้อบกพร่องในการบอกตำเหน่ง

ส่วนประกอบของระบบ GPS
1.ส่วนอวกาศ (Space Segment)(SS)
2.ส่วนควบคุม (Control Segment)(CS)
3.ส่วนผู้ใช้ (User Segment)(US)

วงโคจรของดาวเทียมจีพีเอส
- ลักษณะของวงโคจรของดาวเทียมจีพีเอสมีลักษณะแบบ Non-Geostationary orbit
- จำนวน 6 วงโคจร แต่ละวงประกอบด้วยดาวเทียม อย่างน้อยจำนวน 4 ดวง
- โคจรเอียงทำมุม 55 องศา กับเส้นศูนย์สูตร
- โคจรรอบโลกสูงจากพื้นผิวโลก = เป็นระยะทาง = 20,200=กม. โดยประมาณ =
- ซึ่งลักษณะของวงโคจรถูกออกแบบมาให้ทุกพื้นที่บนโลกสามารถมองเห็นดาวเทียม = ได้อย่างน้อย = 4 =ดวง

ภาคพื้นดินสถานีควบคุม(Control Station Segment)
ส่วนนี้จะคอยควบคุมสั่งการและดูแลดาวเทียม ตรวจตราความเรียบร้อยของระบบ ส่งค่าการแก้ไขปรับต่างๆ เช่น ข้อมูลโคจร ข้อมูลเวลา
- สถานีสังเกตการณ์(Monitor Station) จำนวน 5 แห่ง กระจายอยู่ตามจุดต่างๆของโลก ได้แก่ Hawaii,Kwajalein Island,Diego Garcia และ Color Spring
- จานส่งสัญญาณภาคพื้นดิน(Ground Antennas)ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 จุด ได้แก่ Ascension Island,Diego Garcia,Kwajalein
- ศูนย์บัญชาการ(Master Control Station(MCS)) ตั้งอยู่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯSchriever AFB รัฐ Colorado

ประเภทของเครื่องับสัญญาณจีพีเอส สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
- เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบรังวัด
วิธีการทำงาน คือ นำเครื่องรับแบบรังวัดไปวางที่หนุดที่ต้องการหาตำแหน่งเปรียบเทียบกันเป็นเวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการรับสัญญาณมาประมวลผลได้เป็นเส้นฐานและนำข้อมูลดังกล่าว มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการรังวัดตำแหน่งอื่นๆที่ต้องการทราบค่าเพื่อหาค่าพิกัดที่ถูกต้องของตำแหน่งนั้นการทำงานรังวัด

- เครื่องรับสัญญาณจีพีเอสแบบนำหน
เป็นการรับสัญญาณที่เป็นคลื่นวิทยุจากดาวเทียม ในขณะเดียวกันก็สร้างรหัสC/A(Coarse/Acquisition)ขึ้นมาเปรียบเทียบกับรหัสที่ถอดได้จากสัญญาณ เมื่อเปรียบเทียบได้รหัสที่ตรงกันจะทำให้รู้เวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางจากดาวเทียมมายังเครื่องรับ ในการหาตำแหน่ง(แบบ 3 มิติ)ต้องวัดระยะทางไปยังดาวเทียมพร้อมกัน 4 ดวง

หลักการในการบอกตำแหน่งจีพีเอส

การทำงาน GPS แบ่งออกเป็นได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
- การรับสัญญาณจากดาวเทียมโดยหลักการรูปสามเหลี่ยมระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ
- GPS วัดระยะโดยใช้เวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ
- ในดาวเทียมและเครื่องรับจำเป็นจะต้องมีนาฬิกาที่ละเอียดสูงมาก
- นอกจากระยะทางแล้วจะต้องทราบตำแหน่งของดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศด้วย
- ในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) และชั้นบรรยากาศโลก(Atmosphere)ความเร็วคลื่นวิทยุเดินทางได้ช้าลง จึงต้องทำการแก้ไขจุดนี้ด้วย

ความคลาดเคลื่อนของระบบจีพีเอส

ค่าความผิดพลาดในการหาตำแหน่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- Correctable Errors แก้ไขได้
ค่าความผิดพลาดแบบแก้ไขได้ จะเป็นค่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหมือนๆกันกับเครื่องรับ GPS ทุกเครื่อง ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
-Non-Correctable Errors แก้ไขไม่ได้
ส่วนค่าความผิดพลาดที่แก้ไขไม่ได้ จะเป็นค่าความผิดพลาดแบบที่จะไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ในระหว่างเครื่องรับทุกเครื่องที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน

หลังจากที่ได้รับความรู้อย่างมากมายแล้ว ในช่วงท้ายของการสัมมนาก็ได้มีการร่วมตอบคำถามและมอบของรางวัลกันด้วยและมีการมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร คุณ สิทธธรรม อู่รอด สุดท้ายจึงได้กล่าวปิดงานสัมมนาโดย คุณธีระวัฒน์ ดำรงค์รักษ์

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 3

การเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง ปฎิวัติการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี HSPA (Hight Speed Packet Access.)
เมื่อวันจันทร์ ที่ 11 สิงหาคม 2551 9:00-12:00 น.

ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมนาครั้งนี้
ความเป็นมาของ HSPA
HSPA ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายยุคที่ 3 และเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้ทำการยกระดับ โครงข่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูลที่แปรผันตามอัตราความเร็วข้อมูลได้ และยังมีความยิ่งใหญ่ เนื่องจากกลุ่มของเทคโนโลยีระบบ HSPA เป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่สามารถเลือกการทำงานได้แม้กระทั่งอัตราความเร็วข้อมูลที่มีอัตราความเร็วสูง
HSPA เป็นสิ่งที่เหนือกว่าด้วยการยกระดับซอฟต์แวร์ที่อยู่บน Rel.99 ของมาตรฐาน UMTS การยกระดับนี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดปัจจัยแฝงของการเชื่อมโยง (Link) และได้รับโดยการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับจำนวนเทคนิคต่างๆ

ขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูบลของ HSPA
HSPA ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์ในกลุ่มเครือข่ายเข้าถึงและอาจมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพียงเล็กน้อย เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้นซึ่งถือเป็นข้อจูงใจในเชิงเศรษฐศาสตร์การลงทุน ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก WCDMA ไปเป็น HSPA
ด้วย ต้นทุนไม่มากนัก และยังคงใช้ประโยชน์จากสินทร้พย์ที่เป็นอุปกรณ์เครือข่าย WCDMA เดิมได้ทั้งหมดในทางกลับกันก็ได้เพิ่มศักยภาพในการให้บริการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูง ซึ่ง HSPA ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานการให้บริการ ในยุค Broadband Wireless Access (BWA) เช่นเดียวกับเทคโนโลยีคู่แข่งอื่นๆ เช่น WiMAX Flash-OFDM

ข้อดีของ HSPA 900 MHz อยู่ที่เป็นคลื่นที่ส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่า 2100 MHz ทำให้ลดต้นทุนในการติดตั่งอุปกรณ์ แต่ข้อด้อยก็มีอยู่บ้าง เช่นการทะลุทะลวงของคลื่นสัญญาณอาจจะทำได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับคลื่น 2100 MHz เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่า คลื่น 900 MHz ใช้งานในบริเวณที่ราบ ไม่มีสิ่งกีดขวางมากนัก แต่ 2100 MHz ใช้งานได้ดีในย่านชุมชนที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น อาคาร เป็นต้น

คุณสมบัติของ HSPA
1. Hi Speed Internet ในปัจจุบันมาตรฐานของการรับส่งข้อมูลเร็วที่สุดยังอยู่ที่เทคโนโลยี EDGE ซึ่งให้ความเร็วประมาณ 160 kbps แต่ HSPA ให้ความเร็วในการโหลดข้อมูลที่ 7.2 Mbps ต่างกัน 45 เท่า
2. Vido Call ถือเป็นมาตรฐานเทคโนโลยี 3 G ที่มีในมือถือ โดยคู่สนทนาจะเห็นหน้าซึ่งกันและกัน ผ่านกล้องที่อยู่ด้านหน้าโทรศัพท์มือถือ การใช้งานจริงอาจจะมีการดีเลย์บ้างเป็นบางครั้ง แต่โดยรวมถือว่าใช้งานได้ดี

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 2

การเข้าร่วมสัมนาครั้งที่ 2 เรื่อง "ถุงนั้นสำคัญฉไหน"
วิทยากรโดย คุณวิฑูรย์ วงค์ทิพย์ นักวิชาการสาธารณสุข และทีมงาน
เมื่อวันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม 2551 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ โรงละคร D102 อาคารเรียน วิทยาเขตแม่สา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


เนื่องจากการจัดสัมนาครั้งนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการจัดสัมมนาขึ้น งานทุกอย่างถึงจะมีข้อบกพร่อง
บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ หรือ การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ แต่การจัดสัมมนาครั้งนี้ก็ผ่านไปด้วยดี
ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการสัมมนา ในหัวข้อ ถุงนั้นสำคัญฉไหน คือ

ทราบสถิติของการเกิดโรคเอดส์ในปัจจุบัน
คือจังหวัดใดมีจำนวนประชากรที่ติดเอดส์มากที่สุด สำหรับในประเทศไทย จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่มีประชากร
ติดเชื้อเอดส์มากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับถุงยางอนามัย

ถุงยางอนมัยที่มีการผลิตจำหน่ายในโลกนี้มี 3 ชนิดตามวัสดุที่ใช้


1. ชนิดที่ทำจากลำไส้สัตว์ (Skin condom)


2. ชนิดที่ทำจากน้ำยางธรรมชาติ (rubber condom or latex condom)


3. ชนิดที่ทำจากPolyurethane (ถุงยางพลาสติก)


ขั้นตอนการใช้ถุงยางอนามัย

1. บรรจงฉีกซองอย่างระมัดระวัง แล้วหยิบออกจากซองอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ถุงยางอนามัยสัมผัสกับเล็บหรือของประดับที่มีคม
2. ถุงยางอนามัยบรรจุในซองในลักษณะม้วนเป็นรูปวงแหวน ให้รอยม้วนอยู่ด้านนอก คลี่ถุงยางออกมาสัก 1 - 2 เซนติเมตร
3. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบกระเปาะ(ติ่งตรงปลาย)ไล่ลมออก น้ำมาครอบปลายอวัยวะเพศ (ถ้าหนังหุ้มยาว ต้องรูดขึ้นไปให้พ้นปลายหัว)
4. ใช้อีกมือรูดถุงยางขึ้นไปจนถึงโคน (อีกมือยังคงบีบปลายติ่งอยู่)
5. ถ้าใส่ถูกต้อง ตรงติ่งต้องแบนไม่มีลมอยู่ภายใน (ถ้าเป็นแบบปลายมา ต้องเหลือปลายถุงยางไว้สัก หนึ่งเซ็นติเมตร)ทั้งนี้เพื่อป้องกันถุงยางอนามัยแตก

6. ถ้าความหล่อลื่นไม่พอ ก็สามารถทาสารหล่อลื่นเพิ่มเติมได้ แต่ต้องหลังจากสวมใส่แล้ว และสารหล่อลื่นที่ใช้ ต้องเป็นสารที่มีส่วนผสมเป็นน้ำ หรือซิลิโคน เช่น ky - jelly อย่ามักง่าย ใช้วาสลินโดยเด็ดขาด เพราะวาสลินเป็นเจลที่มี petroleum เป็นส่วนประกอบ
7. หลังจากมังกรพ่นพิษ ห้ามรอดูผลงาน ห้ามแช่ ต้องรีบถอย ถอนสมอโดยเร็ว ก่อนที่นกเขาจะหลับ ไม่งั้นถุงยางจะหลุดค้างคาในถ้ำ
8. ตอนถอนสมอ มือต้องจับขอบปลายส่วนเปิดไว้ด้วย ไม่งั้นถุงยางอาจถูกหนีบออกแต่ตัว แต่เสื้อหลุดได้ และเมื่อออกมาแล้ว ต้องระมัดระวังมืออย่าไปโดนด้านนอก ของถุงยางที่มีสารคัดหลั่งของฝ่ายหญิงอยู่ อาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ (กรณีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยา)
9. เมื่อถอดออกแล้ว จะทดสอบรอยรั่วได้โดยเอาไปรองน้ำจากก๊อกใส่ถุงยางที่ใช้แล้ว ถ้ารั่วก็จะเห็นได้


ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

1. เอดส์ ป้องกันมากกว่า 90%
2. ไวรัสตับอักเสบ บี ป้องกันมากกว่า 90%
3. หูดหงอนไก่ ไม่ได้ผล หรือป้องกันได้ 10-50%
4. หนองในเทียม ป้องกันได้ 50-90%
5. หนองในแท้ ป้องกันมากกว่า 90%
6. พยาธิในช่องคลอด ป้องกันมากกว่า 90%
7. ซิฟิลิส ป้องกันได้ 50-90%
8. โรคเริม ป้องกันได้ 10-50%
9. แผลริมอ่อน ป้องกันได้ 10-50%


การสัมมนาในครั้งนี้ทางทีมงานของท่านวิทยากรได้มีการให้ผู้ร่วมสัมมนาเล่นเกมส์ซึ่งได้รับความรู้เป็นอย่างมากด้วยเกี่ยวกับโรคติดต่อ
สำหรับในช่วงท้ายของการสัมมนาก็ได้มีการร่วมตอบคำถามและมอบของรางวัลแก่ผู้ตอบคำถามและได้มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรโดยประธานในพิธี ซึ่งงานสัมมนาในวันนี้บรรยากาศได้เป็นไปอย่างสนุกสนาน สุดท้ายก็ได้กล่าวปิดงานโดยประธานในพิธี